1669 จำนวนผู้เข้าชม |
7 ธ.ค. 66 พิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) โดยเจ้าพระคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม พระพรหมโมลี เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ประธานฝ่ายสงฆ์
พระเทพประสิทธิมนต์ เจ้าอาวาส วัดศรีสุดาราม วรวิหาร รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ศ.ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ประธานพิธีฝ่ายฆราวาส รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหารจากสำนักงานเขต สำนักการแพทย์ โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ บุคลากรจากโรงพยาบาล และประชาชนผู้มีจิตศรัทธาเข้าร่วมพิธี
ด้วยประชาชนเขตภาษีเจริญและบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงประสบปัญหาด้านการแพทย์และสาธารณสุข ไม่สามารถเข้าถึงการบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โดยเฉพาะผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ซึ่งมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร่งด่วน สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ.9) อดีตเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ พระอารามหลวง อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม มีดำริถึงปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับประชาชนในการเข้าถึงสถานพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว ต่อมาพระพรหมโมลี เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ได้สานต่อดำริของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ โดยประสานมายังพระเทพประสิทธิมนต์ เจ้าอาวาสวัดศรีสุดาราม เพื่อพิจารณาจัดสรรพื้นที่จำนวน 14 ไร่ 70 ตารางวา ของวัดปากน้ำภาษีเจริญ เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ในการดูแลรักษาพยาบาล แก่ประชาชนของกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ก่อนที่จะมาเป็นโรงพยาบาลพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ในวันนี้ พระเทพประสิทธิมนต์ เจ้าอาวาสวัดศรีสุดารามวรวิหาร ที่ปรึกษาเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ได้สนองนโยบายของมหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นองค์กรการปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ ในการบูรณาการภารกิจ 6 ด้าน ของคณะสงฆ์ ได้แก่ 1. ด้านการปกครอง 2. ด้านการศาสนศึกษา 3. ด้านการเผยแผ่ 4. ด้านการสาธารณูปการ 5. ด้านศึกษาสงเคราะห์ 6. ด้านสาธารณสงเคราะห์ ด้วยดีตลอดมาโดยเฉพาะในด้านการสาธารณสงเคราะห์ที่มีคุณูปการอันยิ่ง และมีประโยชน์อย่างมากสำหรับกรุงเทพมหานคร อาทิ เป็นประธานดำเนินการสร้างโรงพยาบาลถวายเป็นพระราชกุศล ในมหามงคลวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษกฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปีพุทธศักราช 2539 ชื่อว่า “โรงพยาบาลราชพิพัฒน์” เป็นประธานดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาล 85 พรรษามหาราช เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร ในเนื้อที่ 20 ไร่ ชื่อว่า “โรงพยาบาลคลองสามวา” จากความเป็นมาดังกล่าว สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จึงได้จัดโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) วัดปากน้ำ เพื่อให้ประชาชนและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ได้รับการดูแล รักษาพยาบาล อย่างสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย ลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน เป็นไปตามนโยบายด้านสุขภาพดีของคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการให้ประชาชนได้รับการบริการด้านสาธารณสุขอย่างทั่วถึง ครบวงจรและสะดวกรวดเร็ว มีการเชื่อมโยงบูรณาการระหว่างหน่วยงาน ส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
.
ในโอกาสวันนี้ สำนักการแพทย์โดยโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ได้จัดพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มีความสูง 4 ชั้น กว้าง 15 เมตร ยาว 30 เมตร พื้นที่ใช้สอยจำนวน 1,800 ตารางเมตร วัตถุประสงค์เพื่อขยายการบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ให้ประชาชนในพื้นที่และบริเวณใกล้เตียง